วันศุกร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ปลากดเหลือง

ปลากดเหลือง                                                    




ปลากดเหลืองเป็นปลาน้ำจืดที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจสูงตลาดมีความต้องการมากและราคาดีเนื่องจากมีรสชาติดีเป็นที่นิยมของผู้บริโภคทั้งในรูปปลาสดและการแปรรูปเป็นปลารมควันหรือปลาแห้งราคาซื้อปลาสดกิโลกรัมละ30-40บาทส่วนปลารมควันกิโลกรัมละ80-100บาทปลากดเหลืองพบอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศไทยและประเทศใกล้เคียงเช่นประเทศมาเลเซียสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวกัมพูชาเวียดนามและประเทศในแถบหมู่เกาะอินเดียตะวันออกสำหรับประเทศไทยพบในแม่น้ำเจ้าพระยาการจับปลากดเหลืองได้โดยการใช้ข่ายอวนล้อมแหหรือเบ็ดราวพื้นที่จับคือบริเวณใต้เขื่อนเจ้าพระยาที่พื้นท้องน้ำที่เป็นแก่งหินหรือเป็นพื้นแข็งซึ่งปริมาณปลากดเหลืองที่จับได้ในแต่ละปีมีจำนวนน้อยลงสถานีประมงน้ำจืดชัยนาทจึงพัฒนาการเพาะพันธุ์ปลาชนิดนี้เพื่อประโยชน์ในด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำให้มีความอุดมสมบูรณ์ในแหล่งน้ำธรรมชาติและเป็นการพัฒนาการเพาะเลี้ยงปลากดเหลืองให้แพร่ขยายออกไปสู่เกษตรกรต่อไป

ปลาตะพากเหลือง



ปลาตะพากเหลือง




ชื่ออื่นๆ กระพาก, ตะพากเหลือง (ภาคกลาง), ปากดำ (ภาคอีสาน), ปีก (ภาคเหนือ)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Puntius daruphani
ชื่ออังกฤษ YELLOW TAIL BARB, GOLDEN BELLY BARB
ถิ่นอาศัย พบในแม่น้ำและอ่างเก็บน้ำทั่วทุกภาคของประเทศ นอกจากนี้ยังพบในประเทศมาเลเซีย และอินโดนีเซีย
ขนาด ขนาดใหญ่ที่สุดที่เคยพบยาว 66 ซ.ม. น้ำหนัก 8 ก.ก. แต่ถัวเฉลี่ยยาวไม่เกิน 60 ซ.ม.
ลักษณะ ลำตัวยาวรีและแบนข้าง มีเกล็ดขนาดค่อนข้างใหญ่เป็นมันแวววาว พื้นลำตัวสีขาวเงิน แผ่นหลังสีเขียวอมน้ำตาล มีครีบทั้งหมด 7 ครีบ ครีบอก ครีบท้องและครีบก้นสีเหลือง ปลายขอบครีบและหางสีส้ม หางเป็นแฉกเว้าลึก ครีบหลังและครีบหางสีเทาหม่น เมื่อโตขึ้นเกล็ดบริเวณใต้ท้องจะเป็นสีเหลืองทอง มีหนวดขนาดเล็ก 2 คู่อยู่ที่ขากรรไกรบนและล่าง
อุปนิสัย ค่อนข้างรักสงบแต่อาจก้าวร้าวเป็นบางขณะ ในธรรมชาติมักอยู่รวมเป็นฝูงในแหล่งน้ำใส ว่ายน้ำเกือบตลอดเวลา ว่ายน้ำได้เร็วมาก
การสังเกตเพศ ปลาตัวผู้จะมีรูปทรงเพรียวบางและเล็กกว่าตัวเมียเล็กน้อย
การแพร่พันธุ์ วางไข่ระหว่างเดือนมีนาคม-ตุลาคม ไข่มีลักษณะกึ่งจมกึ่งลอย วางไข่ครั้งละหลายหมื่นจนถึงหลายแสนฟอง ปกติมักผสมพันธุ์เป็นหมู่
การเลี้ยง ควรเลี้ยงรวมเป็นฝูงหรือเลี้ยงรวมกับปลาในสกุลเดียวกัน เช่นปลาตะเพียนทอง ปลากระแห จะช่วยให้ปลาไม่รู้สึกเครียด สามารถเลี้ยงรวมกับปลาอื่นๆได้แทบทุกชนิด ทั้งปลาที่มีขนาดใหญ่กว่าและขนาดเล็กกว่าไม่มาก เป็นปลาที่ว่องไวปราดเปรียวมาก ตู้ควรมีฝาปิดมิดชิดเพื่อกันปลาโดดเวลาตกใจ
อาหาร กินได้ทั้งอาหารสดและอาหารเม็ด

วันพฤหัสบดีที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ปลาหมอ


การเพาะเลี้ยงปลาหมอไทย




ปลาหมอไทย เป็นปลานํ้าจืดพื้นบ้านของไทย ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจอีกชนิดหนึ่ง ที่ประชาชนทุกระดับชนชั้นของสังคมไทย นิยมบริโภคกันอย่างแพร่หลาย เพราะสามารถประกอบอาหารได้หลากหลาย ทั้งแกง ต้ม ทอด ย่างหรือแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ อีกทั้งเป็นปลาที่มีความทนทาน ทรหด อดทนสูง เพราะมีอวัยวะพิเศษช่วยหายใจ (labyrinth organ) จึงอาศัยอยู่ได้ในบริเวณที่มีนํ้าน้อยๆ หรือที่ชุ่มชื้นได้ เป็นเวลานาน อย่างไรก็ตาม ผลผลิตส่วนใหญ่ ได้จากแหล่งนํ้าธรรมชาติ โดยกรมประมง รายงานว่า ปี 2543 มีผลผลิตปลาหมอไทยทั้งหมด 7,200 เมตริกตัน คิดเป็นมูลค่า 207 ล้านบาท เป็นผลผลิตปลาจากแหล่งนํ้าธรรมชาติ 6,730 เมตริกตัน และการเพาะเลี้ยง 470 เมตริกตัน โดยบริโภคในรูปปลาสด 84% ปลาร้า 12% นอกจากนั้นอีก 4% ทำปลาเค็มตากแห้ง รมควันและอื่นๆ ปัจจุบัน แม้ว่าการเพาะเลี้ยงปลาหมอไทย ยังไม่เป็นที่แพร่หลายมากนัก มักกระจุกอยู่บางท้องที่หรือเลี้ยงกันแบบหัวไร่ ปลายนา แต่จัดเป็นปลาที่มีศักยภาพ ทั้งการผลิตและการตลาดเพื่อส่งออกสูง กล่าวคือ (1) สามารถเพาะเลี้ยงในอัตราความหนาแน่นสูง และเจริญเติบโต ในภาวะคุณสมบัติของดินและนํ้าที่แปรปรวนสูงได้ ทั้งนํ้าจืด นํ้ากร่อยและนํ้าค่อนข้างเป็นกรดหรือพื้นที่ดินพรุ ดินเปรี้ยวตลอดจนนาข้าว นากุ้งทิ้งร้างได้ (วิทย์ และคณะ, 2533; ศราวุธ และคณะ, 2539; กรมประมง, 2541; อนันต์ และคณะ,2541) สามารถขนส่งและจำหน่ายในรูปปลาสดมีชีวิตระยะทางไกลๆ อันสอดคล้องกับพฤติกรรมผู้บริโภคยุคใหม่ ที่นิยมใชป้ ลาสดมีชีวิตประกอบอาหาร (2) อุปสงค์ของตลาดมีสูงมาก โดยเฉพาะปลาขนาดใหญ่ (3-5 ตัว/กิโลกรัม) ทั้งตลาดภายในและต่างประเทศ เช่น ตลาดตะวันออกกลาง จีน ไต้หวัน เกาหลีและมาเลเซีย มีความต้องการไม่ตํ่ากว่า 100 เมตริกตัน/ปี ในช่วงเดือนเมษายน ถึง พฤษภาคม ของทุกปี ขณะที่ผลผลิตไม่เพียงพอและปริมาณไม่แน่นอน (สัตว์นํ้าจืด, 2547)

ปลาทู

ที่มาของปลาทู


ปลาทู มีชื่อในภาษาอังกฤษว่า Scomber ปลาทูเกิดและโตในอ่าวไทยมากยิ่งกว่าในทะเลแถบอื่น ปลาทูเป็นปลาขนาดกลางรูปเพรียว หัวแหลม ท้ายแหลม ตัวแบน ด้านหลังเป็นสีเขียวปนฟ้ายาวตลอดตัวส่วนด้านใต้ท้องเป็นสีขาวเงิน ปลาทูว่ายน้ำได้รวดเร็วมาก และไม่เคยหยุดนิ่งกับที่เพราะต้องคอยหนีปลาใหญ่ที่ไล่ตามจับกินอยู่เสมอ ศัตรูของปลาทูได้แก่ ปลาฉลามและปลาใหญ่อื่น ๆ ปลาทูอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ มีจำนวนหลายพันตัว หากินอยู่ใกล้ฝั่งน้ำ ใกล้ชายฝั่งในที่ซึ่งน้ำลึกไม่เกินกว่ายี่สิบฟุต กินแพลงตอนเป็นอาหาร
ในเวลากลางคืนที่ทะเลเรียบ ปราศจากคลื่นลม อากาศดี ฝูงปลาทูจะขึ้นว่ายใกล้ผิวน้ำ ถ้าเป็นคืนเดือนมืดแสงเรืองจากตัวปลาส่องแสงเป็นประกายสีขาวทำให้มองเห็นฝูงปลาได้อย่างชัดเจน ชาวประมงอาศัยแสงเรืองจากตัวปลาทูเป็นที่หมายช่วยให้ติดตามจับปลาฝูงใหญ่ ๆ ได้ง่าย
ปลาทูวางไข่ปีละสองครั้งตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนมีนาคม และเดือนมิถุนายนถึงเดือนกรกฎาคม แหล่งวางไข่แหล่งใหญ่ในอ่าวไทยสองแห่ง คือ ในน่านน้ำบริเวณจังหวัดสุราษฎร์ธานี กับที่แหลมแม่รำพึง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์  ปลาทูวางไข่ในทะเลค่อนข้างลึก เมื่อลูกปลาทูโตขึ้นจะเริ่มว่ายเข้าหาฝั่งแถบก้นอ่าวไทยและจะโตเต็มที่ในเวลาหกเดือน

ปลาหางนกยูง


ประวัติปลานกยูง



จากบันทึกในสมัยโบราณ ได้บอกเล่าถึง ประวัติความเป็นมาของปลาหางนกยูงว่ามีการบันทึกการค้นพบ
ปลาหางนกยูงมานานกว่าศตวรรษแล้วคือตั้งแต่ในปีพ.ศ.2408โดยบาทหลวงชาวอังกฤษชื่อ John
Lechmere Guppy
ได้เดินทางไปยังหมู่เกาะทรินิแดดโดยมีจุดประสงค์เพื่อไปเก็บตัวอย่างพรรณไม้
และได้พบกับปลาชนิดนี้ เห็นความสวยงามของรูปร่างและครีบของตัวปลาจึงได้นำปลา ชนิดนี้กลับสู่ประ
เทศ อังกฤษด้วย และได้เชื่อกันว่า บาทหลวง Guppy ผู้นี้เป็นคนแรกที่ได้ค้นพบ ปลาหางนกยูง
แต่ในความเป็นจริงแล้ว ปลาหางนกยูงนั้นถูกค้นพบครั้งแรกโดยชาวสเปนที่ชื่อ De Pilippiซึ่งเป็นระยะ
เวลาถึง 2 ปีก่อนหน้าที่บาทหลวง Guppy จะค้นพบและได้ตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ให้ว่าLebistes
poeciliodes
ต่อมานายปีเตอร์ซึ่งเป็นนักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมันได้เก็บตัวอย่างปลาหางนกยูงจาก เวเนซูเอลาและได้ทำการตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ให้ว่าPeocili reticulata จากนั้นจึงนำปลาหางนกยูงจาก
เวเนซูเอลาเข้ามายังอังกฤษโดยนาย Gunther และได้ให้ ชื่อวิทยาศาสตร์อีกว่า Girardinus
reticulatus
จนในปีพ.ศ.2456นาย Regan ก็ๆด้ตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ให้กับปลาหางนกยูง อีกชื่อหนึ่งคือ
Lebister reticulatus
หลังจากนั้นจึงพบว่าชื่อวิทยาศาสตร์ของปลาหางนกยูงถูกตั้งขึ้นมามากมายหลายชื่อจากหลายบุคคลและ
ได้มีการแก้ไขกันหลายครั้งจนก่อให้เกิดความสับสนและมีข้อโต้แย้งกันอบ่างไม่มีข้อยุติ จนในที่สุดจึง ได้มีการสังคายนาชื่อวิทยาศาสตร์ของปลาหางนกยูงกันใหม่เพื่อที่จะให้ได้ชื่อที่เป็นสากลและเพื่อให้เกิด
ความเข้าใจตรงกันทุกฝ่าย นักวิทยาศาสตร์ทั้งหลายจึงได้ตกลงกันว่าจะให้ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ของปลา
หางนกยูงอย่างเป็นทางการว่า Peocili reticulata 

จนต่อมาในปีพ.ศ.
2463 ปลาหางนกยูงจึงกลายเป็นปลาที่ได้รับความนิยมกันอย่าแพร่หลายและมีการ
เลี้ยงกันทั่วไปในลักษณะเป็นปลาสวยงาม ไม่ว่าจะ เป็นในอังกฤษ อเมริกาเยอรมนี และประเทศอื่นๆอีก
มากมายโดยมีชื่อทางการค้าว่า Guppy ตามชื่อบาทหลวงชาวอังกฤษ และหลังจากนั้นมาอีก10ปี
ปลาหางนกยูงก็ได้ถูกนำเข้าไปเลี้ยงในประ เทศญี่ปุ่น จึงทำให้ปลา หางนกยูงเป็นที่นิยมเลี้ยง กันอย่าง
แพร่หลายที่สุดในปีพ.ศ. 2503
สำหรับในประเทศไทยนั้น ปลาหางนกยูงสามารถพบได้ในแหล่งน้ำธรรมชาติทั่วไปโดยแหล่งน้ำครำก็
มีให้พบเห็นได้บ้าง โดยอาศัยกินลูกน้ำเป็นอาหาร จนที่บางคนเรียกเจ้าปลาพวกนี้ว่า ปลากินยุงก็ด้วย
สาเหตุนี้นี่เอง ปลาที่มีอยู่ตามธรรมชาติเหล่านี้เราจะเรียกว่า ปลาป่า เพราะพวกมันจะมีการขยายพันธุ์
เองตามธรรมชาติ ต่ก็อาจจะเป็นกลุ่มปลาที่มีสีสันและลวดลายที่ไม่ได้สวยงามมากนัก จนมาช่วงหลังได้
เริ่มมีการนำเข้าปลาจากแถบสิงคโปร์และอีกหลายๆ แหล่งในแถบเอเชีย โดยจุดประสงค์ที่นำเข้ามานั้น
ก็เพื่อใช้เป็นพ่อแม่พันธุ์ในการขยายพันธุ์เพิ่มความหลากหลายให้กับลวดลายของปลาและเพื่อประโยชน์
ในการทำธุรกิจเป็นหลัก ดังนั้นจึงเกิดเป็นกลุ่มผลิตปลาขึ้นมา แหล่งใหญ่ที่สุดในประเทศไทยอยู่ใน
แถบจังหวัดราชบุรีและนครปฐมนอก จากนั้นก็กระจายไปทั่วประเทศ และยังคงได้รับความนิยมอย่าง
ต่อเนื่องตลอดมาโดยไม่ได้ด้อยไปกว่าปลาสวยงามตัวอื่นๆ

วันพุธที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ปลากราย

การเพาะเลี้ยงปลากราย





ปลากราย  เป็นปลาน้ำจืดที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ   ประชาชนชอบบริโภคเนื่องจากเนื้อปลากราย มีรสชาติดีสามารถนำมาปรุงอาหารได้หลายชนิด  เช่น  ทอดมันปลากราย  เชิงปลากรายทอดกระเทียม เป็นต้น ทำให้ราคาจำหน่ายปลากรายในท้องตลาดค่อนข้างมีราคาแพงประมาณกิโลกรัมละ  70-80 บาท ส่วนเนื้อปลาขูด ราคากิโลกรัมล่ะ 150 บาท อีกทั้งปลากรายขนาดเล็กมีลักษณะสวยงามเป็นที่ต้องการของตลาด ปลาสวยงามทั้งภายในและภายนอกประเภท  ปลากรายที่นำมาจำหน่ายส่วนใหญ่เป็นปลาจากแหล่งน้ำธรรมชาติซึ่งมีปริมาณลดลงทุกปี กรมประมงจึงได้มอบหมายให้ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดลพบุรีดำเนินการศึกษาค้นคว้าและเร่งเพาะขยายพันธ์เพื่อฟื้นฟุพันธ์ปลาและส่งเสริมเป็นอาชีพต่อไป

วันอังคารที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ปลาช่อน


การเลี้ยงปลาช่อน 


                                   

  การเพาะเลี้ยงปลาช่อน 

         ปลาช่อนเป็นปลาน้ำจืดที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจอีกชนิดหนึ่งของประเทศไทยอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำจืดทั่วไป เช่น แม่น้ำ  ลำคลอง หนอง บึง และทะเลสาบ มีชื่อสามัญ STRIPED ANAKE-HEAD FISH  และมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Channa striatus ปลาช่อนเป็นปลาที่มีรสชาติดี  ก้างน้อย  สามารถนำมาประกอบอาหารได้หลายชนิด จึงทำให้การบริโภคปลาช่อนได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย แต่ปัจจุบันปริมาณปลาช่อนที่จับได้จากแหล่งน้ำธรรมชาติมีจำนวนลดน้อยลง เนื่องจากการทำประมงเกินศักยภาพการผลิตตลอดจนสภาพแวดล้อมของแหล่งน้ำเสื่อมโทรมตื้นเขิน ไม่เหมาะสมต่อการดำรงชีวิต ทำให้ปริมาณปลาช่อนในธรรมชาติไม่เพียงพอต่อการใช้ประโยชน์และความต้องการบริโภค การเลี้ยงปลาช่อนจึงเป็นแนวทางหนึ่งซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนโดยนำลูกปลาที่รวบรวมได้จากแหล่งน้ำธรรมชาติและจากการเพาะขยายพันธุ์มาเลี้ยงให้เป็นปลาโตขนาดตลาดต้องการต่อไป

ปลาคาร์พ


ความเป็นมาของปลาคาร์พ

 
 

ปลาคาร์พ หรือปลาแฟนซีคาร์พ (Fancy Carp) นับเป็นปลาที่สวยงามชนิดหนึ่ง ซึ่งได้รับความนิยมกันอย่างแพร่หลาย ทั้งนี้อาจเป็นเพราะมันเลี้ยงง่าย โตไว อีกทั้งยังมีสีสันสวยงามอีกด้วย และเป็นปลาที่มีอายุยืนที่สุดในโลก  เช่น  ปลาคาร์พ ชื่อ "ฮานาโกะ" ของนายแพทย์ผู้หนึ่ง ที่ เมืองกูฟี ประเทศญี่ปุ่น มีอายุยืนถึง 266 ปี

     ทั้งนี้ ปลาคาร์พ จัดอยู่ในประเภทปลาน้ำจืดกลุ่มปลาตะเพียน (Carp) ชาวญี่ปุ่นเรียกกันว่า โต่ย (Koi) นิชิกิกอย (Nichikigoi) มีต้นกำเนิดมาจากปลาไนธรรมดา ซึ่งพบในแหล่งน้ำจืดต่างๆ ทั่วโลก สำหรับถิ่นกำเนิดที่แท้จริงก็คือ ประเทศอิหร่านในปัจจุบัน แต่ชาวจีนเป็นกลุ่มแรกที่ได้ศึกษาเรื่องปลาไนมานานกว่า 2,000 ปีแล้ว
ส่วนประเทศญี่ปุ่นได้ศึกษาเกี่ยวกับปลาคาร์พ เมื่อประมาณ 200 ปี หลังคริสต์ศตวรรษ โดยกล่าวถึงปลาชนิดนี้ว่ามีสีแดง สีขาว และสีน้ำเงิน ซึ่งชาวญี่ปุ่นนิยมเลี้ยงไว้ดูเล่น และได้พัฒนาสายพันธุ์ดั้งเดิมของปลาไน ให้เป็นปลาสวยงาม มีสีสันและรูปร่างที่สวยงามขึ้นมาเป็นระยะเวลานาน โดยเรียกว่า ปลาคาร์ฟ หรือ แฟนซีคาร์ฟ โดยมีแหล่งหรือศูนย์กลางการเพาะเลี้ยงปลาแฟนซีคาร์ฟ บริเวณเขาแถบเมืองโอจิยะ จังหวัดนิอิกาตะ และเมืองฮิโรชิมา

   สำหรับประเทศไทยได้เริ่มนำเข้าปลาคาร์ฟเมื่อปี พ.ศ.2493 โดยการนำมาจากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมีการซื้อขายในราคาที่ค่อนข้างสูง ในปี พ.ศ.2498 พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล ทรง สั่งปลาชนิดนี้มาจากประเทศญี่ปุ่น เพื่อนำมาเลี้ยงเป็นพ่อแม่พันธุ์และตั้งชื่อปลาแฟนซีคาร์ฟนี้ว่า ปลาอมรินทร์ หรือบางทีก็เรียกว่า ปลาไนทรงเครื่อง ซึ่งชาวญี่ปุ่นเรียกกันว่า นิชิกิกอย (Nichikigoi)

ปลาตะเพียน


การเพาะพันธุ์ปลาตะเพียนขาว

 

 

 

                     ในการเพาะพันธุ์ปลาตะเพียนขาวควรเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์เอง บ่อขุนเลี้ยง พ่อแม่พันธุ์ควรเป็นบ่อดินขนาดประมาณ 400 ตารางเมตร ถึง 1ไร่ ่โดยปล่อย ปลาเพศผู้เพศเมีย แยกบ่อกันในอัตราประมาณ 800 ตัว/ไร่ให้ผักต่างๆ หรือ อาหารผสมในอัตราประมาณร้อยละ 3 ของน้ำหนักตัว การเลี้ยงพ่อ แม่ปลา อาจจะเริ่มในเดือนตุลาคมหรือพฤศจิกายน โดยคัดปลาอายุประมาณ 8 เดือน แยกเพศและปล่อยลงบ่อ เมื่ออากาศเริ่มอุ่นขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ควร ตรวจสอบพ่อแม่ปลา ถ้าอ้วนเกินไปก็ต้องลดอาหาร หากผอมเกินไปก็ต้องเร่งอาหาร ทั้งนี้ควรจะถ่ายน้ำบ่อยๆ เพื่อเร่งการเจริญเติบโตของไข่และน้ำเชื้อ การ เพาะพันธุ์ จะเริ่มได้ประมาณเดือนมีนาคมถึงกันยายน โดยพ่อแม่พันธุ์จะพร้อมที่สุด ในเดือนพฤษภาคม - มิถุนายน

       การคัดพ่อแม่พันธุ์

 ปลาเพศเมียที่มีไข่แก่จัดจะมีท้องอูมโป่งและนิ่ม ผนังท้องบาง ช่องเพศและช่องทวารค่อนข้างพองและยืน ส่วนปลาเพศผู้แทบจะไม่มี ีปัญหา เรื่องความพร้อมเนื่องจากสร้างน้ำเชื่อได้ดีเกือบตลอดปี

      การฉีดฮอร์โมน

โดยทั่วไปจะใช้ต่อมใต้สมองจากปลาจีน หรือปลายี่สกเทศ ฉีดใน อัตรา 1.5 - 2 โดส ขึ้นกับความต้องการของแม่ปลาฉีดเพียงเข็มเดียว ปลาเพศผู้ไม่ต้องฉีด ตำแหน่งที่นิยมฉีดใต้เกล็ดบริเวณใต้ครีบหลังเหนือเส้น ข้างตัวหรือบริเวณโคนครีบหู ในบางพื้นที่นิยมใช้ฮอร์โมนสังเคราะห์ LHRN ฉีดในอัตรา 20 ไมโครกรัม/กิโลกรัม ควบคู่กับยาเสริมฤทธิ์ Domperidone ในอัตรา 5 - 1O มิลลิกรัม/กิโลกรัม จะมีผลให้ปลาวางไข่เช่นเดียวกัน

    การผสมพันธุ์

     การผสมพันธุ์ทำได้ 2 วิธี คือ

     1. ปล่อยให้พ่อแม่ปลาผสมพันธุ์กันเอง

          หากเลือกวิธีการนี้เมื่อฉีดฮอร์โมนเสร็จ ก็จะปล่อยพ่อแม่ปลาลง ในบ่อเพาะรวมกัน โดยใช้อัตราส่วนแม่ปลา l ตัว/ปลาเพศผู้ 2 ตัว บ่อเพาะ ควรมีพื้นที่ไม่ต่ำกว่า 3 ตารางเมตร ลึกประมาณ l เมตร บ่อขนาดดังกล่าว จะปล่อยแม่ปลาได้ประมาณ 3 ตัว เพื่อความสะดวกในการแยกพ่อแม่ปลา ควรใช้อวนช่องตาห่าง ปูในบ่อไว้ชั้นหนึ่งก่อน แล้วจึงปล่อยพ่อแม่ปลาลงไป แม่ปลาจะวางไข่หลังการฉีดประมาณ 4 - 7 ชั่วโมง โดยจะไล่รัดกันจนน้ำแตก กระจาย เมื่อสังเกตว่าแม่ปลาวางไข่หมดแล้ว ก็ยกอวนที่ปูไว้ออกพ่อแม่ปลา จะติดมาโดยไข่ปลาลอดตาอวนลงไปรวมกันในบ่อ จากนั้นก็รวบรวมไข่ปลาไปฟัก ในกรวยฟัก การผสมพันธุ์วิธีนี้มีข้อดีในเรื่องคุณภาพของไข่ที่ได้มักจะ เป็นไข่ที่สุกพอดี นอกจากนั้นผู้เพาะยังไม่ต้องเสียเวลารอด้วย แต่ในบางครั้ง ปลาตัวผู้ อาจไม่ฉีดน้ำเชื้อเข้าผสมทำให้ไข่ที่ได้ไม่ฟักเป็นตัว นอกจากนั้น ไข่ที่รวบรวมได้มักจะไม่สะอาด
 
  2.  วิธีการผสมเทียม

 หลังจากฉีดประมาณ 4 - 5 ชั่วโมงจะสามารถรีดไข่ปลาใดโดยปลา จะมีอาการกระวนกระวายว่ายน้ำไปมารุนแรงผิดปกติ บางตัว อาจจะขึ้นมาฮุบ อากาศบริเวณผิวน้ำ เมื่อพบว่าปลามีอาการดังกล่าวก็ควรตรวจดูความพร้อม ของแม่ปลา โดยจับปลาหงายท้องขึ้นโดยตัวปลายังอยู่ในน้ำและ บีบบริเวณใกล้ ช่องเพศเบา ๆ หากพบว่าไข่พุ่งออกมาอย่างง่ายดายก็นำแม่ปลามารีดไข่ได้ การผสมเทียมใช้วิธีแห้งแบบดัดแปลงโดยใช้ผ้าขับตัวปลาให้แห้ง แล้วรีดไข่ลง ในภาชนะที่แห้งสนิท จากนั้นนำปลาตัวผู้มารีดน้ำเชื้อลงผสม ในอัตราส่วนของ ปลาตัวผู้ 1- 2 ตัว ต่อไข่ปลาจากแม่ไข่ 1 ตัว ใช้ขนไก่คนไข่กับ น้ำเชื้อจนเข้ากันดี แล้วจึงเติมน้ำสะอาดเล็กน้อยพอท่วมไข่การคนเล็กน้อยในขั้นตอนนี้เองเชื้อตัวผู้ ก็จะเข้าผสมกับไข่ ่จากนั้นจึงเติมน้ำจนเต็มภาชนะถ่ายน้ำ เป็นระยะๆ เพื่อล้างไข่ให้สะอาด ไข่จะค่อย ๆ พองน้ำ และขยายขนาดขึ้นจนพองเต็มที่ภายในเวลา ประมาณ 20 นาที ระหว่างช่วงเวลาดังกล่าวต้องคอยถ่าย น้ำอยู่เสมอ เพื่อป้องกันไม่ให้ไข่บางส่วนเสีย เมื่อไข่พองเต็มที่แล้วก็สามารถนำไปฟักในกรวยฟักได้

ปลาไหล


ปลาไหล

 

 

 


รูปร่างลักษณะ   รูปร่างยาวคล้ายงู ส่วนปลายของลำตัวค่อนข้างแบน ทำให้สามารถว่ายน้ำได้เร็ว ลำตัวเป็นสีน้ำตาล ส่วนหลังสีจะเข้ม ส่วนท้องจะเป็นสีจาง ไม่มีเกล็ดแต่จะมีเมือกป้องกันตัวแทนด้วยเหตุนี้เราจึงสามารถจับปลาไหลได้ยาก

              ปลาไหลน้ำจืด ( Anguilla ) เป็นปลาเศรษฐกิจที่พบทั่วไปตามชายฝั่งแอตแลนติกเหนือ ในฤดูฝนปลาไหลจำนวนมากจะว่ายน้ำลงสู่ทะเล และเมื่อถึงฤดูใบไม้ผลิ จะมีปลาไหลรุ่นหนุ่มสาวขนาดตัวเท่าก้านไม้ขีด เรียกว่า เอวเวอร์( elvers ) อยู่ตามชายฝั่งแม่น้ำ จึงสรุปได้ว่าปลาไหลต้องวางไข่ในทะเล

มีการรายงานออกมาว่า เอวเวอร์ ไม่ใช่ตัวอ่อนของปลาไหล ระยะตัวอ่อนจริงๆนั้น มีขนาดเล็ก รูปร่างคล้ายใบไม้ ตัวโปรงใส รูปร่างต่างจากลักษณะของปลาไหลโดยสิ้นเชิง

นักวิทยาศาสตร์ชื่อ Schmidt ได้กล่าวว่าปลาไหลที่ออกจากชายฝั่งแม่น้ำของยุโรป และอเมริกาเหนือจะว่ายน้ำไปยังทะเลลึกมาก ไปถึงทะเลที่มีสาหร่ายสีน้ำตาล ( sargassosea ) และมันจะใช้เวลาประมาณ 1 ถึง 2 เดือน อยู่ในความลึกประมาณ 1000 ฟุต ปลาไหลวางไข่แล้วตายไป ตัวอ่อนขนาดเล็กเริ่มเดินทางกลับสู่แม่น้ำทางยุโรป โดยลอยไปตามกระแสน้ำอุ่นกัลฟ์สตรีม

( Gult Stream ) และถูกกินเป็นจำนวนมาก ตัวอ่อนใช้เวลาถึง 2 ปี ในการเดินทางถึงแอทแลนติคกลาง ปลายปีที่ 3 จึงถึงชายฝั่งแม่น้ำในยุโรป มันจะใช้เวลา 8 -15 ปี ในการเจริญเติบโต ในบ้านเรา และกลับไปวางไข่ต่อไป

Schmidt ยังพบอีกว่าปลาไหลอเมริกาต่างกับปลาไหลยุโรป ตรงที่ปลาไหลอเมริกามีข้อกระดูกสันหลังน้อยกว่าคือ 107 ข้อ ส่วนปลาไหลยุโรปมีประมาณ 114 ข้อ และปลาไหลอเมริกาจะอาศัยอยู่ทางชายฝั่งแอทแลนติคเหนือ

                                                                                                                                              

 

การเลี้ยงปลาดุก

 

 

 

 
การเพาะเลี้ยงปลาดุกอุย

ปลาดุกอุย เป็นปลาน้ำจืดของไทยชนิดหนึ่งมีชื่อวิทยาศาตร์ว่า Carias macrocephalus พบว่ามีการแพร่กระจายทั่วไปเกือบทุกภาค ของประเทศไทยและในประเทศใกล้เคียงเช่น มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ พม่า และบังกลาเทศ ฯลฯ ปลาดุกอุยเป็นปลาที่มีรสชาติดดี ประชาชนชาวไทยโดย ทั่วไปนิยมรับประทานแต่มีราคาค่อนข้างสูงต่อมาเกษตรกรนิยมเลี้ยงปลาดุกด้าน ปลาดุกบิ๊กอุย(สำหรับปลาดุกบิ๊กอุยซึ่งเป็นปลาดุกลูกผสมจากพ่อปลาดุกอัฟริกัน กับแม่ปลาดุกอุยซึ่งให้ผลผลิตและมีความต้านทานโรคสูง มีอัตราการเจริญเติบโตเร็ว) ทำให้เกษตรกรหันมาให้ความสนใจเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุยกันอย่างแพร่หลาย ทั่วทุกภูมิภาค แต่อย่างไรก็ตามปลาดุกอุยก็นับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากเป็นที่ต้องการของเกษตรกรผู้เพาะพันธุ์ปลาโดยวิธีผสมเทียมในการผลิตลูกปลา ดุกบิ๊กอุย เนื่องจากต้องใช้เป็นแม่พันธุ์ และผู้บริโภคที่พอใจในคุณภาพของเนื้อปลาดุกอุยที่อ่อนนุ่มและเหลืองน่ารับประทาน

ปลาทอง


ประวัติของปลาทอง

 

 

 

 

 


 ปลาทองมีถิ่นกำเนิดในประเทศจีนและญี่ปุ่น ต่อมาถูกนำไปเลี้ยงในยุโรปเมื่อศตวรรษที่ 17 และถูกนำไปเผยแพร่ในอเมริกา ในศตวรรษที่ 19 ชาวจีนและชาวญี่ปุ่นรู้จักผสมพันธ์ปลาทองมานานแล้ว และได้ปลาทองลูกผสมที่น่า สนใจ มีสีหลากหลายตั้งแต่สีแดง สีทอง สีส้ม สีเทา สีดำและสีขาว แม้กระทั่งปลาทองสารพัดสีในตัวเดียวกัน ปลาทองมีชีวิตอยู่ตามแหล่งธรรมชาติ จนกระทั่งมีชาวจีนบางคนได้จับมาเลี้ยงตามบ่อเพราะดูน่าตาสวยดี สีสันแปลกตา สร้างความเพลิดเพลินใจได้เป็นอย่างดี จึงเลี้ยงสืบต่อกันมาเรื่อยๆ ทำให้มีการแปรผันผันแปร และพัฒนาเรื่อยมา

 ประวัติของปลากัด 

 
 
 
 

   ปลากัดเป็นปลาพื้นบ้านของไทย  ในธรรมชาติชอบอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำนิ่ง  เช่น หนอง   บึง   หรือชายทุ่งนา   โดยมักพบตามชายฝั่งที่ตื้นๆและมีพรรณไม้น้ำมาก   เป็นปลาที่จัดอยู่ในกลุ่มเดียวกันกับพวก Labyrinth  Fish   ได้แก่  พวกปลากระดี่ทั้งหลาย   ซึ่งเป็นกลุ่มปลาที่มีอวัยวะช่วยหายใจ   ทำให้ปลาอาศัยอยู่ในที่มีออกซิเจนต่ำได้   จึงทำให้สามารถเลี้ยงปลากัดในขวดต่างๆที่มีปากขวดแคบๆได้   ปลากัดจัดว่าเป็นปลาที่กินเนื้อเป็นอาหาร   โดยจะชอบกินแมลงและตัวอ่อนของแมลงต่างๆ (Insectivores)