วันพฤหัสบดีที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ปลาหางนกยูง


ประวัติปลานกยูง



จากบันทึกในสมัยโบราณ ได้บอกเล่าถึง ประวัติความเป็นมาของปลาหางนกยูงว่ามีการบันทึกการค้นพบ
ปลาหางนกยูงมานานกว่าศตวรรษแล้วคือตั้งแต่ในปีพ.ศ.2408โดยบาทหลวงชาวอังกฤษชื่อ John
Lechmere Guppy
ได้เดินทางไปยังหมู่เกาะทรินิแดดโดยมีจุดประสงค์เพื่อไปเก็บตัวอย่างพรรณไม้
และได้พบกับปลาชนิดนี้ เห็นความสวยงามของรูปร่างและครีบของตัวปลาจึงได้นำปลา ชนิดนี้กลับสู่ประ
เทศ อังกฤษด้วย และได้เชื่อกันว่า บาทหลวง Guppy ผู้นี้เป็นคนแรกที่ได้ค้นพบ ปลาหางนกยูง
แต่ในความเป็นจริงแล้ว ปลาหางนกยูงนั้นถูกค้นพบครั้งแรกโดยชาวสเปนที่ชื่อ De Pilippiซึ่งเป็นระยะ
เวลาถึง 2 ปีก่อนหน้าที่บาทหลวง Guppy จะค้นพบและได้ตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ให้ว่าLebistes
poeciliodes
ต่อมานายปีเตอร์ซึ่งเป็นนักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมันได้เก็บตัวอย่างปลาหางนกยูงจาก เวเนซูเอลาและได้ทำการตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ให้ว่าPeocili reticulata จากนั้นจึงนำปลาหางนกยูงจาก
เวเนซูเอลาเข้ามายังอังกฤษโดยนาย Gunther และได้ให้ ชื่อวิทยาศาสตร์อีกว่า Girardinus
reticulatus
จนในปีพ.ศ.2456นาย Regan ก็ๆด้ตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ให้กับปลาหางนกยูง อีกชื่อหนึ่งคือ
Lebister reticulatus
หลังจากนั้นจึงพบว่าชื่อวิทยาศาสตร์ของปลาหางนกยูงถูกตั้งขึ้นมามากมายหลายชื่อจากหลายบุคคลและ
ได้มีการแก้ไขกันหลายครั้งจนก่อให้เกิดความสับสนและมีข้อโต้แย้งกันอบ่างไม่มีข้อยุติ จนในที่สุดจึง ได้มีการสังคายนาชื่อวิทยาศาสตร์ของปลาหางนกยูงกันใหม่เพื่อที่จะให้ได้ชื่อที่เป็นสากลและเพื่อให้เกิด
ความเข้าใจตรงกันทุกฝ่าย นักวิทยาศาสตร์ทั้งหลายจึงได้ตกลงกันว่าจะให้ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ของปลา
หางนกยูงอย่างเป็นทางการว่า Peocili reticulata 

จนต่อมาในปีพ.ศ.
2463 ปลาหางนกยูงจึงกลายเป็นปลาที่ได้รับความนิยมกันอย่าแพร่หลายและมีการ
เลี้ยงกันทั่วไปในลักษณะเป็นปลาสวยงาม ไม่ว่าจะ เป็นในอังกฤษ อเมริกาเยอรมนี และประเทศอื่นๆอีก
มากมายโดยมีชื่อทางการค้าว่า Guppy ตามชื่อบาทหลวงชาวอังกฤษ และหลังจากนั้นมาอีก10ปี
ปลาหางนกยูงก็ได้ถูกนำเข้าไปเลี้ยงในประ เทศญี่ปุ่น จึงทำให้ปลา หางนกยูงเป็นที่นิยมเลี้ยง กันอย่าง
แพร่หลายที่สุดในปีพ.ศ. 2503
สำหรับในประเทศไทยนั้น ปลาหางนกยูงสามารถพบได้ในแหล่งน้ำธรรมชาติทั่วไปโดยแหล่งน้ำครำก็
มีให้พบเห็นได้บ้าง โดยอาศัยกินลูกน้ำเป็นอาหาร จนที่บางคนเรียกเจ้าปลาพวกนี้ว่า ปลากินยุงก็ด้วย
สาเหตุนี้นี่เอง ปลาที่มีอยู่ตามธรรมชาติเหล่านี้เราจะเรียกว่า ปลาป่า เพราะพวกมันจะมีการขยายพันธุ์
เองตามธรรมชาติ ต่ก็อาจจะเป็นกลุ่มปลาที่มีสีสันและลวดลายที่ไม่ได้สวยงามมากนัก จนมาช่วงหลังได้
เริ่มมีการนำเข้าปลาจากแถบสิงคโปร์และอีกหลายๆ แหล่งในแถบเอเชีย โดยจุดประสงค์ที่นำเข้ามานั้น
ก็เพื่อใช้เป็นพ่อแม่พันธุ์ในการขยายพันธุ์เพิ่มความหลากหลายให้กับลวดลายของปลาและเพื่อประโยชน์
ในการทำธุรกิจเป็นหลัก ดังนั้นจึงเกิดเป็นกลุ่มผลิตปลาขึ้นมา แหล่งใหญ่ที่สุดในประเทศไทยอยู่ใน
แถบจังหวัดราชบุรีและนครปฐมนอก จากนั้นก็กระจายไปทั่วประเทศ และยังคงได้รับความนิยมอย่าง
ต่อเนื่องตลอดมาโดยไม่ได้ด้อยไปกว่าปลาสวยงามตัวอื่นๆ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น