วันพฤหัสบดีที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ปลาหมอ


การเพาะเลี้ยงปลาหมอไทย




ปลาหมอไทย เป็นปลานํ้าจืดพื้นบ้านของไทย ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจอีกชนิดหนึ่ง ที่ประชาชนทุกระดับชนชั้นของสังคมไทย นิยมบริโภคกันอย่างแพร่หลาย เพราะสามารถประกอบอาหารได้หลากหลาย ทั้งแกง ต้ม ทอด ย่างหรือแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ อีกทั้งเป็นปลาที่มีความทนทาน ทรหด อดทนสูง เพราะมีอวัยวะพิเศษช่วยหายใจ (labyrinth organ) จึงอาศัยอยู่ได้ในบริเวณที่มีนํ้าน้อยๆ หรือที่ชุ่มชื้นได้ เป็นเวลานาน อย่างไรก็ตาม ผลผลิตส่วนใหญ่ ได้จากแหล่งนํ้าธรรมชาติ โดยกรมประมง รายงานว่า ปี 2543 มีผลผลิตปลาหมอไทยทั้งหมด 7,200 เมตริกตัน คิดเป็นมูลค่า 207 ล้านบาท เป็นผลผลิตปลาจากแหล่งนํ้าธรรมชาติ 6,730 เมตริกตัน และการเพาะเลี้ยง 470 เมตริกตัน โดยบริโภคในรูปปลาสด 84% ปลาร้า 12% นอกจากนั้นอีก 4% ทำปลาเค็มตากแห้ง รมควันและอื่นๆ ปัจจุบัน แม้ว่าการเพาะเลี้ยงปลาหมอไทย ยังไม่เป็นที่แพร่หลายมากนัก มักกระจุกอยู่บางท้องที่หรือเลี้ยงกันแบบหัวไร่ ปลายนา แต่จัดเป็นปลาที่มีศักยภาพ ทั้งการผลิตและการตลาดเพื่อส่งออกสูง กล่าวคือ (1) สามารถเพาะเลี้ยงในอัตราความหนาแน่นสูง และเจริญเติบโต ในภาวะคุณสมบัติของดินและนํ้าที่แปรปรวนสูงได้ ทั้งนํ้าจืด นํ้ากร่อยและนํ้าค่อนข้างเป็นกรดหรือพื้นที่ดินพรุ ดินเปรี้ยวตลอดจนนาข้าว นากุ้งทิ้งร้างได้ (วิทย์ และคณะ, 2533; ศราวุธ และคณะ, 2539; กรมประมง, 2541; อนันต์ และคณะ,2541) สามารถขนส่งและจำหน่ายในรูปปลาสดมีชีวิตระยะทางไกลๆ อันสอดคล้องกับพฤติกรรมผู้บริโภคยุคใหม่ ที่นิยมใชป้ ลาสดมีชีวิตประกอบอาหาร (2) อุปสงค์ของตลาดมีสูงมาก โดยเฉพาะปลาขนาดใหญ่ (3-5 ตัว/กิโลกรัม) ทั้งตลาดภายในและต่างประเทศ เช่น ตลาดตะวันออกกลาง จีน ไต้หวัน เกาหลีและมาเลเซีย มีความต้องการไม่ตํ่ากว่า 100 เมตริกตัน/ปี ในช่วงเดือนเมษายน ถึง พฤษภาคม ของทุกปี ขณะที่ผลผลิตไม่เพียงพอและปริมาณไม่แน่นอน (สัตว์นํ้าจืด, 2547)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น