วันศุกร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ปลาตะพากเหลือง



ปลาตะพากเหลือง




ชื่ออื่นๆ กระพาก, ตะพากเหลือง (ภาคกลาง), ปากดำ (ภาคอีสาน), ปีก (ภาคเหนือ)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Puntius daruphani
ชื่ออังกฤษ YELLOW TAIL BARB, GOLDEN BELLY BARB
ถิ่นอาศัย พบในแม่น้ำและอ่างเก็บน้ำทั่วทุกภาคของประเทศ นอกจากนี้ยังพบในประเทศมาเลเซีย และอินโดนีเซีย
ขนาด ขนาดใหญ่ที่สุดที่เคยพบยาว 66 ซ.ม. น้ำหนัก 8 ก.ก. แต่ถัวเฉลี่ยยาวไม่เกิน 60 ซ.ม.
ลักษณะ ลำตัวยาวรีและแบนข้าง มีเกล็ดขนาดค่อนข้างใหญ่เป็นมันแวววาว พื้นลำตัวสีขาวเงิน แผ่นหลังสีเขียวอมน้ำตาล มีครีบทั้งหมด 7 ครีบ ครีบอก ครีบท้องและครีบก้นสีเหลือง ปลายขอบครีบและหางสีส้ม หางเป็นแฉกเว้าลึก ครีบหลังและครีบหางสีเทาหม่น เมื่อโตขึ้นเกล็ดบริเวณใต้ท้องจะเป็นสีเหลืองทอง มีหนวดขนาดเล็ก 2 คู่อยู่ที่ขากรรไกรบนและล่าง
อุปนิสัย ค่อนข้างรักสงบแต่อาจก้าวร้าวเป็นบางขณะ ในธรรมชาติมักอยู่รวมเป็นฝูงในแหล่งน้ำใส ว่ายน้ำเกือบตลอดเวลา ว่ายน้ำได้เร็วมาก
การสังเกตเพศ ปลาตัวผู้จะมีรูปทรงเพรียวบางและเล็กกว่าตัวเมียเล็กน้อย
การแพร่พันธุ์ วางไข่ระหว่างเดือนมีนาคม-ตุลาคม ไข่มีลักษณะกึ่งจมกึ่งลอย วางไข่ครั้งละหลายหมื่นจนถึงหลายแสนฟอง ปกติมักผสมพันธุ์เป็นหมู่
การเลี้ยง ควรเลี้ยงรวมเป็นฝูงหรือเลี้ยงรวมกับปลาในสกุลเดียวกัน เช่นปลาตะเพียนทอง ปลากระแห จะช่วยให้ปลาไม่รู้สึกเครียด สามารถเลี้ยงรวมกับปลาอื่นๆได้แทบทุกชนิด ทั้งปลาที่มีขนาดใหญ่กว่าและขนาดเล็กกว่าไม่มาก เป็นปลาที่ว่องไวปราดเปรียวมาก ตู้ควรมีฝาปิดมิดชิดเพื่อกันปลาโดดเวลาตกใจ
อาหาร กินได้ทั้งอาหารสดและอาหารเม็ด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น